วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

                โครงงาน IS

             ไข่เค็มสมุนไพร 

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี


 
โครงงาน
ไข่เค็มสมุนไพร

ครูที่ปรึกษาโครงงาน
นางสาวยุพาภร   สุขสาม

จัดทำโดย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่   5   ห้อง  2

รายงานโครงงานไข่เค็มสมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา   วิชา IS 3
ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา   2558
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย   ชลบุรี
เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18


ชื่อโครงงาน                   ไข่เค็มสมุนไพร
ผู้รับผิดชอบ                   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 2
ที่ปรึกษาโครงงาน         นางสาวยุพาภร   สุขสาม
สถานที่จัดทำ                 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย   ชลบุรี
โครงงานประเภท          สิ่งประดิษฐ์และพัฒนา





บทคัดย่อ 
        เนื่องจากทางคณะนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ได้ไปศึกษาดูงานนอกสถานที่เกี่ยวกับ
เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และได้นำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับ การประกอบอาชีพ
การสร้างรายได้ กลับมาพัฒนาเพื่อสร้างทักษะ ความรู้ การทำงาน การสร้างรายได้ในระหว่างเรียน
ให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 502 และเพื่อเป็นการศึกษาหลักการทางวิทยาศาสตร์ว่า
จะมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใดกับสิ่ง ที่มีอยู่ตามท้องตลาด ในการทำโครงงานไข่เค็มจากกลิ่นสมุนไพร
จึงมีแนวคิดใหม่ ในการพัฒนาให้มีไข่เค็ม รสชาติ และ กลิ่นที่เพิ่มมากขึ้นจากของเดิมที่มีวางขายตามท้องตลาด และเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงไปในตัวอีกด้วย
 





กิตติกรรมประกาศ 
          โครงงานเรื่องนี้ประกอบด้วยการดำเนินงานหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การศึกษาข้อมูล การวิเคราะห์
การจัดทำโครงงานรูปเล่ม การลงมือปฏิบัติงาน จนกระทั่งโครงงานนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ตลอดระยะเวลาดังกล่าวทางคณะผู้จัดทำโครงงานได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านต่างๆ
ตลอดจนได้รับกำลังใจจากบุคคลหลายท่าน คณะผู้จัดทำตระหนักและซาบซึ้งในความกรุณาจากทุกๆท่าน
เป็นอย่างยิ่ง  ณ  โอกาสนี้  ขอขอบคุณทุกๆ ท่าน ดังนี้
             กราบขอบพระคุณอาจารย์ ยุภาพร สุขสาม ผู้ให้ความรู้ คำแนะนำ คอยดูแลในด้านต่างๆ
และสละเวลามาช่วยฝึกฝนเทคนิคในการทำโครงงานครั้งนี้ พร้อมทั้งเป็นกำลังใจให้เสมอมา
กราบขอบพระคุณคระอาจารย์ทุกๆ ท่าน ที่คอยให้กำลังใจ และที่คอยเฝ้าดูการปฏิบัติงานของ
ทางคณะผู้จัดทำเสมอมา
กราบขอบพระคุณท่านผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี และท่านรองผู้อำนวยการโรงเรียนทั้ง 2 ท่าน ที่ให้ความอนุเคราะห์ คอยให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือในด้านต่างๆ
ขอขอบคุณทางโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการปฏิบัติโครงงานครั้งนี้
ขอขอบคุณ เพื่อนๆ ที่ได้ให้ความร่วมมือในการทำโครงงาน
ท้ายที่สุด ขอขอบคุณ ท่านผู้ปกครองทุกๆ ท่าน ผู้เป็นกำลังใจและให้โอกาสกับคณะผู้จัดทำได้ศึกษาและลงมือปฏิบัติโครงงานเล่มนี้


คณะผู้จัดทำ






บทที่ 1
บทนำ
วัตถุประสงค์ 
1.เพื่อนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
2.เพื่อพัฒนาทักษะการคิด  วิเคราะห์  การนำไปใช้และการทำงานเป็นหมู่คณะ
3.เพื่อพัฒนาไข่เค็มให้มีความหลากหลายของรสชาติมากขึ้น
4.เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักปฏิบัติและขั้นตอนการทำไข่เค็มอย่างถูกวิธี
5.เสริมสร้างรายได้ระหว่างเรียนและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
6.เพื่อใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์
7.เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
8.เพื่อนำความรู้ด้านเทคโนโลยีเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ







บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง 
   หลักการ ปรัชญา และกรอบแนวคิด




1. การพึ่งพาตนเอง เป็นการยึดหลักตนเองเป็นที่พึ่งแห่งตน รู้จักนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ รู้จักผลิตพืชให้เพียงพอกับความต้องการในการบริโภคของครัวเรือนก่อนหลังจากนั้นจึงผลิตเพื่อการค้า
2. การพึ่งพากันเอง จะให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มกันของชาวบ้าน เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น การเกษตรแบบผสมผสาน การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การแปรรูปอาหาร เป็นต้น ในปัจจุบันมีการดำเนินงานเพื่อสร้างรายได้ตามนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นการพัฒนาชุมชน และพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโต
       
                 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง แนวทางการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยมีเงื่อนไขพื้นฐาน คือ ความรู้ และคุณธรรม ซึ่งนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่สมดุล ยั่งยืน สามารถรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
          
         หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้

1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้
   
        (1) ความพอประมาณ (Moderation) มีสองนัย คือ ความพอดี ไม่สุดโต่ง และการยืนได้บนขาของตนเอง (self-reliant) เป็นการดำเนินชีวิตอย่างทางสายกลาง โดยมีการกระทำไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไปในมิติต่างๆ เช่น การบริโภค การผลิตอยู่ในระดับสมดุล การใช้จ่าย การออมอยู่ในระดับที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ตนเอง เป็นสิ่งที่ทำให้เราทำอะไรเต็มตามศักยภาพไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เพื่อเป็นการยืนได้โดยลำแข้งของตนเอง
        (2) ความมีเหตุผล (Reasonableness) หมายความว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ที่มีความพอประมาณในมิติต่าง ๆ จะต้องมีสติรอบรู้คิดถึงระยะยาว ต้องมีเป้าหมาย และวิธีการที่เหมาะสม มีความรู้ในการดำเนินการ มีการพิจารณาจากเหตุ ปัจจัยและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ต้องเป็นการมองระยะยาว ตลอดจนคำนึงถึงผลกระทบของการกระทำและความเสี่ยง จะทำให้มีความพอประมาณ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ความมีเหตุผลในทางปรัชญานี้ความหมายและนัยยะต่างกับ ความมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ เพราะความมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ เป็นมโนทัศน์เพื่อการวิเคราะห์ ที่สมมติว่า ผู้บริโภครู้ความพอใจของตนเองและมีพฤติกรรมการบริโภคที่มีความคงเส้นคงวา เช่น ถ้าชอบส้มมากกว่าเงาะ และชอบเงาะมากกว่ามังคุด ก็จะชอบส้มมากกว่ามังคุดด้วย นอกจากนี้ยังสมมติว่าผู้บริโภครู้วัตถุประสงค์ของตนเองและจะดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อจำกัดของงบประมาณ มีความเข้าใจว่า เศรษฐศาสตร์ทำให้คนมีความโลภ เพราะบอกว่าผู้บริโภคมีความต้องการไม่จำกัด และความพอใจได้จากการบริโภคสินค้าเท่านั้น การสรุปเช่นนี้ไม่ถูกต้องนัก เพราะความต้องการที่ไม่จำกัดนั้นเป็นการเปรียบเทียบกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เป็นข้อสมมติแสดงถึงความขาดแคลน (Scarcity) ของทรัพยากร ทำให้ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ ส่วนการวิเคราะห์ที่สมมติให้ผู้บริโภคที่มีเหตุผลต้องการความพอใจสูงสุดจากการ
บริโภคสินค้าและบริการตามงบประมาณที่จำกัดนั้น เป็นข้อสมมติเบื้องต้นเพื่อหาอุปสงค์ของการบริโภคสินค้านั้น จึงต้องกำหนดความพอใจมากจากการบริโภคสินค้า การวิเคราะห์นี้สามารถขยายไปถึงความพอใจของผู้บริโภคไม่ได้อยู่กับการบริโภคสินค้าและบริการ แต่ขึ้นอยู่กับอย่างอื่นด้วย เช่น ความเท่าเทียมกันในสังคม สภาพแวดล้อมที่ดี การเป็นที่ยอมรับในสังคม นั้นคือวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคจะเป็นการสร้างความพอใจที่ครอบคลุมมากกว่าการวิเคราะห์เบื้องต้น
        (3) การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว (Self-immunity) พลวัตในมิติต่าง ๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในสภาวะต่าง ๆ อย่างรวดเร็วขึ้น จึงต้องมีการเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ การกระทำที่เรียกได้ว่าพอเพียงไม่คำนึงถึงเหตุการณ์และผลในปัจจุบัน แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต ภายใต้ข้อจำกัดของข้อมูลที่มีอยู่ และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง และการมีภูมิคุ้มกันจะทำให้มีความพอเพียงแม้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีเหตุการณ์ที่แย่ที่สุดก็จะรับมือได้

  4. เงื่อนไข การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
      (1) เงื่อนไขความรู้ ได้แก่ มีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง ความรอบรู้ คือ มีความรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อการใช้เป็นประโยชน์พื้นฐาน เพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติอย่างพอเพียง การมีความรอบรู้ย่อมทำให้มีการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทั้งนี้รวมถึง ความรอบคอบ ความระมัดระวัง คือมีการวางแผน โดยสามารถที่จะนำความรู้และหลักวิชาต่าง ๆ มาพิจารณาเชื่อมโยงสัมพันธ์กันและความมีสติ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ ในการนำแผนปฏิบัติที่ตั้งอยู่บนหลักวิชาต่าง ๆ เหล่านั้นไปใช้ ในทางปฏิบัติโดยมีการปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมทั้งกายภาพและทางสังคมด้วย
      (2) เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งครอบคลุมคนทั้งชาติ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ นักธุรกิจ มีสองด้านคือ ด้านจิตใจ/ปัญญา และด้านการกระทำ ในด้านแรกเป็นการเน้นความรู้คู่คุณธรรม ตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความรอบรู้ที่เหมาะสม ส่วนด้านการกระทำหรือแนวทางดำเนินชีวิต เน้นความอดทน ความเพียร สติปัญญา และความรอบคอบ  เงื่อนไขนี้จะทำให้การปฏิบัติตามเนื้อหาของความพอเพียงเป็นไปได้ ทำให้ตนเองไม่มีความโลภ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นหรือสังคม เพราะการมีความโลภจะทำให้ทำอะไรสุดโต่ง ไม่นึกถึงความเสี่ยง ไม่รู้จักพอ มีโอกาสที่จะกระทำการทุจริต




5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี




    การตลาด

    ปัญหาที่สามารถเกิดขึ้นได้
1.ช่องทางการจัดจำหน่าย จะจัดจำหน่ายที่ไหนถึงจะเหมาะสม (ปลีก - ส่ง)
2.ราคาขั้นต่ำของ ไข่เค็ม ที่ผู้บริโภคยอมรับได้คือเท่าใด
3.จะทำการตลาดแบบ Social marketing เป็นไปได้หรือไม่
     
    การจำหน่ายภายในโรงเรียน
1.หากทำการผลิตเสร็จเราสามารถนำไปขายให้ร้านอาหารภายในโรงเรียนประกอบอาหารที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้
2. สามารถทำการประกอบอาหารเพื่อขายเมื่อมีกิจกรรมที่สามารถทำได้
3.สามารถนำไปขายให้กับท่านอาจารย์ที่สนใจในผลิตภัณฑ์
      
   การตลาดภายนอกโรงเรียน
1.สามารถนำเสนอขายกับผู้ปกครองของนักเรียนภายในโรงเรียนที่สนใจ
2.สามารถทำเป็นสินค้าที่ขายในตลาดออนไลน์ได้เพื่อความสะดวกแกผู้ที่สนใจแต่ไม่สามารถมารับผลิตภัณฑ์ได้ด้วยตนเอง
3.สามารถขายในพื้นที่ ตลาด หรือชุมชนใกล้เคียงของบริเวณโรงเรียนได้
4.สามารถ.นำไปฝากขายในร้านของผู้ปกครองนักเรียนที่เปิดร้านขายของที่เป็นอาชีพภายในครอบครัวได้




 ไข่เค็มบูรณาการกับอาเซียน
   
  แผนการบูรณาการทางเศรษฐกิจ ของอาเซียนไปสู่การประเมินประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียน
อาเซียนมุ่งการดำเนินการเปิดตลาดเดียว และเป็นพื้นฐานทางการผลิตเสรีด้านการเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมือ เป็นความพยายามบรรลุความร่วมมือโดยรวมมากขึ้น ก่อนหน้านั้น RIA ริเริ่มการบูรณาการของอาเซียน และมีการพัฒนาศักยภาพการผลิต เพื่อบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
     
   ถ้าหากไข่เค็มของเรา มีรายได้ในตลาดและได้ทำงานกับร้าน OTOP ก็จะสามารถส่งออกไปขายกับประเทศอาเซียนได้ และได้ความรู้หลากหลายจากภาษา ภานในประเทศอาเซียน เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฟิลิปปินส์ ภาษาเขมร โดยการทำป้ายชื่อปักไว้หน้ากระถางจะได้เป็นความรู้เล็กๆน้อยๆแก่ผู้พบเห็น


      ไข่เค็มสมุนไพรบูรณาการกับหลักสูตรสวนกุหลาบศึกษา

มาตรฐานการเรียนรู้
     ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
1.สำรวจสอบเพื่อให้ค้นพบความถนัดความสนใจและความสามารถของตนเอง
 - คิดค้นสูตรเป็นของตนเอง
 -นำไข่เค็มที่ได้ไปต่อยอด
 -ได้รับความรู้ความสนใจในการทำไข่เค็มมากขึ้น
2.เสริมสร้างศักยภาพของตนเองทั้งด้านภูมิธรรม ภูมิรู้ ภูมิปีญญา และภูมิคุ้มกันตามความสามารถ
 - นำไข่เค็มที่ได้ ไปขายเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้ตนเอง
 -เผยแพร่การทำไข่เค็มให้กับผู้ที่สนใจ
 -มีความรู้ที่เต็มเปี่ยม สามารถเพิ่มมูลค่าให้ไข่เค็มธรรมดา มีกลิ่นที่ต่างจากเดิม
3.แสดงภาวะผู้นำตามความถนัดความสนใจ เพื่อเกียรติภูมิแห่งตนเองและสถาบันสวนกุหลาบ
 -คิดค้นสูตรและเผยแพร่ให้คนที่สนใจ
 -เด็กน้กเรียนรู้จักการพอเพียงและการประหยัด
 -ทำให้ผู้ที่มาเยี่ยมโรงเรียน ได้ชื่นชมกับการทำเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนในสวนกุหลาบ




                              การตรวจสอบพื้นที่

เขตพื้นที่รับผิดชอบมัธยมศึกษาปีที่ 502
การวัดพื้นที่                             
ความกว้าง 60 เมตร
ความยาว   6 เมตร





      อุปสรรคของเขตพื้นที่

       1.  ทางเดินเข้าเขตพื้นที่เป็นทางลาดชัน ซึ่งเป็นหินจำนวนมาก ไม่สะดวกต่อการเดิน และ ไม่มีความปลอดภัย อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
     2..พื้นที่ต่างระดับ ไม่สะดวกต่อการทำเขตพื้นที่ และ ทำให้สิ่งของที่วางไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
    3. เกิดมลภาวะน้ำเน่าเสีย มีกลิ่นไม่พึงประสงค์โชยมา เนื่องจากแม่ครัวเทเศษอาหารลงในภาชนะจำนวนมาก ทำให้เกิดการรั่วไหลของเศษอาหารมายังเขตพื้นที่ ทำให้เกิดเป็นน้ำเน่าเสีย เกิดการกักขังอยู่บริเวณเขตพื้นที่
    4. สิ่งของที่ชำรุดวางระเกะระกะ อาจมีสิ่งมีชวิตที่มีพิษอาศัยอยู่ และ ทำให้พื้นที่ตรงบริเวณนั้นไม่เกิดประโยชน์
    5. เขตพื้นที่กองขยะที่สะสมมานานและเกิดการเผาไหม้ ในกองขยะนั้นอาจมีสิ่งมีชีวิตที่มีพิษอาศัยอยู่ ทำให้ดินเกิดความเสียหายเนื่องจากอาจปลูกพืชชนิดต่างๆไม่ได้อีก

       รูปอุปสรรคบริเวณเขตพื้นที่









การแก้ไขปัญหา

        1. นำดินมาโถมบริเวณที่เป็นหิน แล้วจัดทำให้เป็นทางเดินเข้า-ออกได้สะดวก 
     2.  มีการปรับหน้าดิน โดยการขุดดินที่สูงมาโถมลงสู่ที่ต่ำจนทำให้มีระดับที่พอเหมาะ
     3. มีการลอกคลองน้ำทำความสะอาด แล้วดูดน้ำเสียออก โดยการใช้รถดูดน้ำเสีย
     4. ให้สมาชิกในห้องช่วยกันย้ายสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ แล้วนำไปไว้ในที่ที่เหมาะสม
     5. ทำการขนขยะที่เป็นอุปสรรคออก โดยการให้สมาชิกในห้องช่วยกันขนออกไปบริเวณที่ทิ้งขยะโดยเฉพาะจากนั้นก็ทำการปรับหน้าดินตรงบริเวณที่จัดทำการขนขยะ












บทที่ 3
วิธีการดำเนินงาน


        ตารางในการปฏิบัติงาน

โครงงาน ไข่เค็มสมุนไพร
ที่
หัวข้อการดำเนินงาน
ต.ค.-58
พ.ย.-58
ธ.ค.-58
ม.ค.-59
ก.พ.-59
1
นำเสนอหัวข้อโครงงาน
2
กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
3
ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำไข่เค็ม
4
วางแผนการดำเนินงาน
5
แบ่งหน้าที่ในการทำโครงงาน
6
สำรวจเขตพื้นที่ในการเพาะปลุก
7
เตรียมพืชพันธุ์มาปลูก
8
จัดทำไข่เค็ม
9
เตรียมการจัดทำรูปเล่มฉบับร่าง
10
จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์


ขั้นตอนการผลิตไข่เค็มสมุนไพร
    กลิ่นใบเตย
     
 อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
    ไข่เป็ด ใบเตย เกลือ 1 ถ้วยตวงใหญ่ น้ำ 4 ถ้วยตวง (ถ้วยที่ใช้ตวงน้ำและเกลือควรเป็นถ้วยเดียวกัน) หม้อ โหลที่จะใช้ในการดอง
    
     ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.ล้างไข่เป็ดให้สะอาด แล้วนำไปพักไว้บนแผงไข่ให้แห้ง
2.ล้างใบเตยให้สะอาดแล้วหั่นใส่ลงไปในหม้อ (หั่นไม่ต้องเล็กให้พอใส่หม้อได้)
2.ตวงเกลือและน้ำใส่ลงไปในหม้อที่เตรียมไว้
3.นำไปต้มทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที รอจนเดือดจึงยกออกมาพักให้เย็นตัวลง
4.ใส่ไข่เป็ดลงไปในโหลอย่างระมัดระวัง
5.เมื่อน้ำใบเตยเย็นตัวลงแล้ว ก็นำมาใส่ในโหลที่เราได้ใส่ใข่เป็ดลงไปแล้วจึงปิดฝา
  *หมายเหตุ : ควรกดไข่ลงไปไม่ให้ลอยขึ้นเหนือน้ำ เพราะอาจจะเกิดการไม่ทั่วถึงของเกลือ
      


    กลิ่นอัญชัน
   อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
ไข่เป็ด อัญชัน เกลือ 1 ถ้วยตวงใหญ่ น้ำ 4 ถ้วยตวง (ถ้วยที่ใช้ตวงน้ำและเกลือควรเป็นถ้วยเดียวกัน) หม้อ โหลที่จะใช้ในการดอง
    
     ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.ล้างไข่เป็ดให้สะอาด แล้วนำไปพักไว้บนแผงไข่ให้แห้ง
2.ใส่อัญชันลงไปตามต้องการ ต้องเยอะพอที่จะทำให้ไข่ออกสีได้
3.ตวงเกลือและน้ำใส่ลงไปในหม้อที่เตรียมไว้
4.นำไปต้มทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที รอจนเดือดจึงยกออกมาพักให้เย็นตัวลง
5.ใส่ไข่เป็ดลงไปในโหลอย่างระมัดระวัง
6.เมื่อน้ำอัญชันเย็นตัวลงแล้ว ก็นำมาใส่ในโหลที่เราได้ใส่ใข่เป็ดลงไปแล้วจึงปิดฝา
7.ทิ้งไว้ประมาณ 10-12 วันจึงจะสามารถนำไปต้มได้
    *หมายเหตุ : ควรกดไข่ลงไปไม่ให้ลอยขึ้นเหนือน้ำ เพราะอาจจะเกิดการไม่ทั่วถึงของเกลือ

         


      กลิ่นกะเพรา
   อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
    ไข่เป็ด กะเพรา พริกขี้หนู เกลือ 1 ถ้วยตวงใหญ่ น้ำ 4 ถ้วยตวง (ถ้วยที่ใช้ตวงน้ำและเกลือควรเป็นถ้วยเดียวกัน) หม้อ โหลที่จะใช้ในการดอง
    
    ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.ล้างไข่เป็ดให้สะอาด แล้วนำไปพักไว้บนแผงไข่ให้แห้ง
2.เด็ดใบกะเพราและใส่พริกลงไปในหม้อใช้มากพอที่จะทำให้เกิดกลิ่น
3.ตวงเกลือและน้ำใส่ลงไปในหม้อที่เตรียมไว้
4.นำไปต้มทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที รอจนเดือดจึงยกออกมาพักให้เย็นตัวลง
5.ใส่ไข่เป็ดลงไปในโหลอย่างระมัดระวัง
6.เมื่อน้ำกระเพราที่ได้เย็นตัวลงแล้ว ก็นำมาใส่ในโหลที่เราได้ใส่ใข่เป็ดลงไปแล้วจึงปิดฝา
7.ทิ้งไว้ประมาณ 10-12 วันจึงจะสามารถนำไปต้มได้
    *หมายเหตุ : ควรกดไข่ลงไปไม่ให้ลอยขึ้นเหนือน้ำ เพราะอาจจะเกิดการไม่ทั่วถึงของเกลือ
       


     กลิ่นต้มยำ
  อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
    ไข่เป็ด ข่า ใบมะกรูด มะนาว หัวหอม พริกขี้หนู เกลือ 1 ถ้วยตวงใหญ่ น้ำ 4 ถ้วยตวง (ถ้วยที่ใช้ตวงน้ำและเกลือควรเป็นถ้วยเดียวกัน) หม้อ โหลที่จะใช้ในการดอง
   
     ขั้นตอนและวิธีการทำ
1.ล้างไข่เป็ดให้สะอาด แล้วนำไปพักไว้บนแผงไข่ให้แห้ง
2.ทุบข่ากับหัวหอม เด็ดใบมะกรูด หั่นมะนาวเป็นแว่นและพริก ใส่ลงไปในหม้อใช้มากพอที่จะทำให้เกิดกลิ่น
3.ตวงเกลือและน้ำใส่ลงไปในหม้อที่เตรียมไว้
4.นำไปต้มทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที รอจนเดือดจึงยกออกมาพักให้เย็นตัวลง
5.ใส่ไข่เป็ดลงไปในโหลอย่างระมัดระวัง
6.เมื่อน้ำต้มยำที่ได้เย็นตัวลงแล้ว ก็นำมาใส่ในโหลที่เราได้ใส่ใข่เป็ดลงไปแล้วจึงปิดฝา
7.ทิ้งไว้ประมาณ 10-12 วันจึงจะสามารถนำไปต้มได้
    *หมายเหตุ : ควรกดไข่ลงไปไม่ให้ลอยขึ้นเหนือน้ำ เพราะอาจจะเกิดการไม่ทั่วถึงของเกลือ

    



  ขั้นตอนในการต้ม
เมื่อไข่ดองตามที่กำหนดไว้แล้ว ขั้นตอนในการต้มมีดังนี้
1.นำไข่ใส่หม้อ แล้วจึงใส่น้ำให้พอประมาณ
2.ต้มทิ้งไว้ จับเวลาประมาณ 20 นาที นับหลังจากที่น้ำเดือด
3.เมื่อไข่สุกแล้วจึงนำมาวางเรียงบนแผงไข่ให้เป็นระเบียบเป็นอันเสร็จเรียบร้อย 










บทที่4
ผลการดำเนินงาน
     ผลการดำเนินงาน
ในการจัดทำโครงงานไข่เค็มสมุนไพร  ผู้จัดทำโครงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อนำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน   พัฒนาทักษะการคิด  วิเคราะห์  การนำไปใช้และการทำงานเป็นหมู่คณะ พัฒนาไข่เค็มให้มีความหลากหลายของรสชาติมากขึ้น นักเรียนได้รู้จักปฏิบัติและขั้นตอนการทำไข่เค็มอย่างถูกวิธี   เสริมสร้างรายได้ระหว่างเรียนและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ  ใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์  ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  และ นำความรู้ด้านเทคโนโลยีเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจ จากการดำเนินงานดังกล่าว มีผลการดำเนินงานดังนี้

1.นำความรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
   จากการดำเนินงานผู้จัดทำสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้โดยนำเอาไข่เป็ดที่มีอยู่มาทำเป็นไข่เค็มสำหรับบริโภคในครัวเรือน โดยทำให้ไข่มีลักษณะดิบสามารถนำมาทอดและต้มทานได้ นอกจากนี้ยังเก็บไว้ได้นาน และสามารถนำมาประกอบอาหารได้โดยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ด้วย

2.พัฒนาทักษะการคิด  วิเคราะห์  การนำไปใช้และการทำงานเป็นหมู่คณะ
   จากการดำเนินงานทำให้ผู้จัดทำมีการพัฒนาทักษะการคิด โดยมีการคิดประยุกต์สูตรการทำเพื่อให้ไข่เค็มมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น ทำให้เกิดสีสันที่น่าสนใจ การเพิ่มกลิ่นให้มีกลิ่นหอมของสมุนไพร เป็นต้น
เกิดการวิเคราะห์อัตราส่วนของสมุนไพรและเกลือในการดัดแปลงสูตรใหม่ให้เหมาะสม และทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะผู้จัดทำอีกด้วย

 3.พัฒนาไข่เค็มให้มีความหลากหลายของรสชาติมากขึ้น
   มีการทดลองดัดแปลงจากไข่เค็มธรรมดาให้มีสีสันที่น่าสนใจ และมีรสชาติที่เค็มกำลังดีสามารถรับประทานเป็นของว่าง หรือนำไปประกอบอาหารได้อย่างเหมาะสม

4.นักเรียนได้รู้จักปฏิบัติและขั้นตอนการทำไข่เค็มอย่างถูกวิธี
    คณะผู้จัดทำรู้และเข้าใจวิธีการทำไข่เค็มอย่างถูกต้อง และเกิดการพัฒนาทักษะจากการลงมือทำด้วยตนเอง
และการลองผิดลองถูก

5.เสริมสร้างรายได้ระหว่างเรียนและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
   มีการจัดจำหน่ายในงานนิทรรศการและงานวิชาการต่างๆที่จัดขึ้นภายในโรงเรียน และนำเงินที่ขายได้มาเก็บไว้เป็นเงินฝากประจำของห้องเรียนเพื่อสะดวกในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันของห้องเรียน

6.ใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์  ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
    มีการใช้พื้นที่เขตรับผิดชอบในการปลูกผักและสมุนไพรที่ใช้ในการทำไข่เค็มรสต่างๆ
และมีการแบ่งเวณการรับผิดชอบในการทำความสะอาดพื้นที่ ดูและแปลงผักที่ปลุก ในแต่ละวัน





       แบบประเมินคุณภาพไข่เค็มสมุนไพร

คุณภาพที่ประเมิน
เกณฑ์การประเมิน
ดีมาก
ดี
พอใช้
ควรปรับปรุง
รสชาติโดยรวม




ความเค็มของไข่ขาว




ความเค็มของไข่แดง




กลิ่นของสมุนไพร




 
   ผลการการประเมิน
จาการทำแบบสอบถามของผู้ทดสอบสามารถสรุปผลได้ดังนี้
-รสชาติโดยรวมของไข่เค็ม จากผู้ทดสอบ 20 คน ร้อยละ  50% บอกว่ารสชาติดี และอีก 50% บอกว่าพอใช้
-ความเค็มของไข่ขาว จากผู้ทดสอบ 20 คน ร้อยละ 40% บอกว่ารสชาติพอใช้ และอีก 60% บอกว่าควรปรับปรุง
-ความเค็มของไข่แดง  จากผู้ทดสอบ 20 คน ร้อยละ 100% บอกว่าควรปรับปรุง
-กลิ่นของสมุนไพร จากผู้ทดสอบ 20 คน ร้อยละ 40% บอกว่ารสชาติพอใช้ และอีก 60% บอกว่าควรปรับปรุง







บทที่5
  สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

  จาการดำเนินงานสามารถสรุปได้ว่า ไข่เค็มสมุนไพรมีรสชาติที่เค็มกำลังพอดี มีกลิ่นสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำ และสามารถวางจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจซื้อได้ มีการพัฒนาปรับสูตรเพื่อให้ได้ไข่เค็มที่มีรสชาติและกลิ่นที่หลากหลาย จากการทำแบบทดสอบผู้ที่ได้ลองชิมพบว่า ผู้ทดสอบให้ความเห็นว่า ไข่เค็มที่ทำขึ้นมีรสชาติที่ไม่เค็มมากสามารถทานเล่นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากไข่เค็มที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป และมีความคิดเห็นว่าสามรถนำไปฝากแผงขายตามท้องตลาดได้ด้วย




ข้อเสนอแนะ
1.ควรพัฒนาในเรื่องของกลิ่นสมุนไพรให้มีกลิ่นที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
2.ควรพัฒนาในเรื่องความเค็มของไข่แดงและไข่ขาวให้มีรสชาติเค็มมากขึ้น








 ภาคผนวก

 -เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้า
-ตารางปฎิบัติงาน
-รุปภาพที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
-รูปภาพเขตพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบ
-แบบประเมินคุณภาพ
                                           


      


   รูปภาพเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ใช้ในการทำโครงงาน















รูปภาพผักสมุนไพรที่ปลูกในเขตพื้นที่รับผิดชอบ